วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

 แนวคิด “กินเพื่อสุขภาพ” ไม่ใช่สิ่งที่ห่างไกลไปจากสำรับอาหารของคนไทย ยิ่งไปกว่านั้น ภาพลักษณ์
ของ “อาหารไทย” ที่ขจรขจายไปสู่ดินแดนทุกทวีปทั่วโลก โดยขณะนี้มีจำนวนร้าน อาหารไทยเกือบ
20,000 ร้านในต่างแดนนั้น มีพี้นฐานความนิยมมาจากการเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ
     กระนั้น อาหารปกติในชีวิตประจำวันไม่อาจตอบสนองความต้องการมี “สุขภาพดี” ในระดับที่คนไทย
ยุคปัจจุบันคาดหวังได้
    ทุกวันนี้ คนไทยนับล้านหวังพึ่งอาหารอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อผลในการบำรุงสุขภาพ เรียกรวมๆ ได้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร
เพื่อสุขภาพ ที่หมายความรวมได้ว่าเป็นสารอาหารในปริมาณเข้มข้นอันมีความสำคัญ และจำเป็นต่อสุขภาพร่างกาย
ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และรวมถึงสารอาหาร พวกช่วยย่อยเอนไซม์และกากใย
โดยผลิตขึ้นในรูปผง เกล็ดเม็ด แคปซูล และของเหลว เพื่อประโยชน์ในการรับประทานเพิ่มเติม ป้องกันหรือบำบัด
ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารที่สกัดหรือสังเคราะห์จากผลิตภัณฑ์ ทั้งพืชและสัตว์ในธรรมชาติ โดยที่มีการพิสูจน์
ทดลองให้ผู้บริโภค เชื่อได้ว่าจะไม่ส่งผลข้างเคียงร้ายแรงต่อร่างกาย สามารถบริโภคได้บ่อยครั้งกว่ายา
   อาหารประเภทนี้เป็นที่นิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลในปี 2551 มูลค่าตลาดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในบ้านเรา
จะมีมูลค่าถึง 8,000 ล้านบาท ยังไม่รวมกับสินค้าประเภทเครื่องออกกำลังกายอีก 2,000 ล้านบาท ตามที่มีข้อมูล
อ้างอิงได้ว่าในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น อาหารเพื่อสุขภาพประสบความสำเร็จ อย่างต่อเนื่องและ
ยังจะเติบโตได้ดีกว่าตลาดในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
   ประเภทของอาหารเพื่อสุขภาพที่คนไทยนิยมกันมากก็คือ เครื่องดื่ม โดยที่ในแต่ละปีได้มีการแข่งขันกันมากขึ้น เห็นได้จากความหลากหลายของทั้งประเภทเครื่องดื่ม อาหารหรือขนมขบเคี้ยว เพราะนอกจากเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
ที่สร้างจุดขายด้วยการเติมสารที่ให้ประโยชน์นานาชนิดลงไปแล้ว ยังมีอาหารจานด่วนอย่างไก่อบที่เน้นเครื่องเทศ สมุนไพรไทย และแม้กระทั่งหมากฝรั่ง ก็ยังมีการเติมสารอาหารบางชนิดลงไปด้วย
   ทุกวันนี้ บนฉลาก ข้างกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ขนาดต่างๆ จึงเต็มไปด้วยข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการเลือกซื้ออาหาร
เพื่อสุขภาพ ผ่านศัพท์แสงที่เป็นชื่อของสารอาหารนานาชนิด ตัวอย่างเช่น กากใย เลซิติน คอลลาเจน เกสรผึ้ง สาหร่ายเกลียวทอง คลอโรฟิล จมูกข้าวสาลี บริวเวอร์ยีสต์ ฯลฯ
   ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่ออาหารสร้างสุขภาพ โดย กนิษฐา หมู่งูเหลือม และ วัฒนธรรมบริโภค
นิยมกับอาหารเพื่อสุขภาพในบริบทสังคมเมือง
 โดย ธนภูมิ อติเวทิน เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ให้ความสนใจ
ต่อที่มาพัฒนาการ และเงื่อนไขปัจจัยที่ทำให้คนไทยยุคปัจจุบันหันมานิยมและพึ่งพาอาหารสุขภาพมาถึงเพียงนี้
   ผู้วิจัยทั้งสองวิเคราะห์ตรงกันว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันปรับมุมมองใหม่ว่าการดูแลสุขภาพเป็นการลดความสี่ยง หรือช่วยป้องกันการเกิดโรคได้มากกว่า เพราะการดูแลสุขภาพมิใช่เพียงแค่การไม่เป็นโรค แต่คือการทำให้สุขภาพกายด
ีและสุขภาพใจสมบูรณ์ ด้วยการออกกำลังกาย งดเหล้าบุหรี่ มีเวลาพักผ่อน รวมทั้งการเลือกกินอาหารที่ดี และเมื่อ
ผู้บริโภคใส่ใจในเรื่องอาหารมากขึ้น จึงส่งผลให้ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพขยายตัวเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  งานของกนิษฐาซึ่งเรียกอาหารกลุ่มนี้ว่า “อาหารสร้างสุขภาพ” ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสำรวจกลุ่มชายหญิง
ผู้ใส่ใจในสุขภาพวัย 22–49 ปี ที่อยู่ในกรุงเทพฯ จำนวน 400 คน พบว่าคนกลุ่มใหญ่มีสถานภาพโสด และจบการศึกษา
ระดับปริญญาตรีมากที่สุด
   ที่น่าสนใจคือ ผู้ที่ระบุว่าตนรู้จักอาหารสุขภาพลับมีความรู้อย่างผิวเผิน อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็รู้สึกดีเมื่อได้ดูแล
สุขภาพตนเองด้วยการกินอาหารสร้างสุขภาพ และเห็นว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาในวงการอาหารนี้ รวมทั้งเห็นว่าอาหารสร้างสุขภาพช่วยป้องกันการเจ็บป่วยได้ กลุ่มเป้าหมายนี้ซื้อเครื่องดื่มประเภทนมถั่วเหลือง
แคลเซียมสูงมาบริโภคมากกว่าและบ่อยครั้งกว่านมชนิดอื่น ส่วนเครื่องดื่มประเภทอื่นที่เลือกรองลงไปคือ น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น ชาเขียวหรือเครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปผสมใยอาหาร
   ส่วนงานของธนภูมิ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มผู้ใหญ่ชายหญิง วัย 41–55 ปีจำนวน ๒๔ รายที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เขาแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะอาชีพ คือ ข้าราชการ พนักงานบริษัทเอกชน และกลุ่มอาชีพอิสระ
   ปัญหาเดียวกันที่คนวัยนี้ต้องเผชิญก็คือ ขาดเวลาพักผ่อนและขาดการออกกำลังกายที่จำเป็น จากสาเหตุคือมีช่วงเวลา
การทำงานที่ยาวนานมากกว่าซึ่งทำให้เกิดความเครียดตามมา คนกลุ่มนี้มีเป้าหมายบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
ทั้งเพื่อ การป้องกันและการรักษาโรค ดังนั้น สำหรับคนในวัยผู้ใหญ่จึงมีความพร้อมที่จะลงทุนเพื่อสุขภาพ โดยการซื้ออาหาร
เพื่อสุขภาพแม้มีราคาสูง ยอมลงทุนด้านเวลาและความเอาใจใส่ที่ต้องบริโภคอย่างต่อเนื่อง และหากิจกรรมในการเพิ่มศักยภาพร่างกายของตนเอง
   จากการศึกษาของธนภูมิ พบว่าวัฒนธรรมบริโภคนิยมมีอิทธิพลสูงมากต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ โดยการที่คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจซื้ออาหารดังกล่าวขึ้นกับ ๒ ปัจจัยคือ ปัจจัยแวดล้อม โดยเฉพาะคนใกล้ชิดที่มีส่วน
สร้างแรงจูงใจ กับอีกปัจจัยหนึ่งคือ อิทธิพลของสื่อการโฆษณา
    เป็นเรื่องน่าคิดว่าผู้บริโภคพากันให้ความสนใจต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่มีหลักการว่าผลิตหรือสังเคราะห์มาจากธรรมชาติ ซึ่งสื่อนัยถึงความสะอาด บริสุทธิ์ ไม่เป็นอันตราย แต่ขณะเดียวกันผู้บริโภคเองกลับมีวิถีการกินอยู่ที่ห่างไกลจากความเป็น
ธรรมชาติแม้เพียงเรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การกินวิตามินแทนที่จะกินผักผลไม้สด การเลือกใช้ลิฟต์แทนการ
ขึ้นลงบันไดหรือการจัดดอกไม้เทียมใส่ในแจกันแทนดอกไม้สด ทั้งที่ต้องการสร้างความชุ่มชื่นให้แก่จิตใจ เป็นต้น
อาหารประจำแต่ละประเทศย่อมมีผู้ที่ชอบเช่น

1.อาหารประจำของประเทศไทยคือต้มยำกุ้ง
2.อาหารประจำของประเทศกัมพูชาคืออาม็อก


อาหารประจำของประเทศบรูไนคือ อัมบูยัต


อาหารประจำของประเทศพม่าคือหล่าเพ็ด


อาหารประจำของประเทศฟิลิปปินส์คืออโดโบ้

อาหารประจำของประเทศสิงคโปร์คือ ลักซา
อาหารประเทศอิดโดนีเซียคือกาโด กาโด
อาหารประเทศลาวคือสลัดหลวงพระบาง
อาหารประเทศมาเลเซียคือนาซิ เลอมัก
อาหารประเทศเวียดนามคือเปาะเปี๊ยะเวียดนาม

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

1.ประเทศไทย


ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) อาหารขึ้นชื่อที่สุดของประเทศไทยของเรา ซึ่งจริงๆแล้วในประเทศไทยมีอาหารรสชาติเยี่ยมยอดและขึ้นชื่ออยู่มากมาย แต่ถ้าจะให้เลือกอาหารที่ขึ้นชื่อและนักท่องเที่ยวต่างประเทศชอบกินกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้นต้มยำกุ้ง ด้วยรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว และจี๊ดจ๊าด รวมกับกุ้งแม่น้ำและเครื่องแกงทั้ง ขา ตะไคร้ ใบมะกรูด ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองไทยต้องได้ลิ้มลองกันทุกคน และเมื่อได้ลิ้มลองทุกคนก็ต่างพากันติดใจและพร้อมที่กลับมาลิ้มลองอีกครั้ง


อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : www.parttime-today.com

2.ประเทศกัมพูชา

อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา ที่ไม่ว่าใครจะไปเยือนต้องได้ลิ้มลอง อาม็อกดูไปดูมาก็มีหน้าตาคล้ายๆกับห่อหมกบ้านเรา เป็นอาหารที่ทำมาจากเนื้อปลาสดๆที่นำมาลวกกับเครื่องแกงและกะทิ แล้วจึงนำไปนึงให้สุก ซึ่งโดยปกติแล้วปลาจะเป็นอาหารหลักของชาวกัมพูชาเพราะหาได้ง่ายตามแม่น้ำลำคลองที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ แต่ในบางครั้งก็อาจใช้ไก่แทนได้ในบางที่
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : articles.spokedark.tv

3. ประเทศบรูไน

อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารที่พลาดไม่ได้เมื่อเดินไปเยือน เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาคู มีลักษณะคล้ายๆข้าวต้มหรืโจ๊ก ตัวแป้งจะไม่มีรสชาติจึงต้องทานคู่กับซอสผลไม้ และต้องมีเครื่องเคียงตามชอบ เช่น ผักสด เนื้อย่าง เนื้อทอด ปลาย่าง และที่สำคัญต้องทานเวลาร้อนๆเท่านั้นจึงจะอร่อยและได้รสชาติที่แท้จริง
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : itchyfeetmd.com

4. ประเทศพม่า

หล่าเพ็ด ( Lahpet ) อาหารเพื่อสุขภาพที่พลาดไม่ได้ของประเทศพม่า มีลักษณะคล้ายๆกับเมี่ยงคำของประเทศไทย เป็นอาหารที่ทำจากใบชาด้วยการนำมาหมัก ทานคู่กับกระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ กุ้งแห้ง งา มะพร้าวคั่ว ซึ่งหล่าเห็ดจะเป็นอาหารที่สำคัญในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญของประเทศพม่า ถ้าขาดไปถือว่าขาดความสมบูรณ์แบบไปเลยก็ว่าได้
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : www.bovorn.com

5. ประเทศฟิลิปปินส์

อโดโบ้ (Adobo) อาหารยอดนิยมที่ต้องลิ้มลองของประเทศฟิลิปปินส์ อโดโบ้ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ โดยผ่านการหมักและปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ชีอิ๊วขาว ใบกระวาน กระเทียม พริกไทยดำ จากนั้นนำไปอบหรือทอด ทานกับข้าวสวยร้อนๆ ถือว่าเป็นอาหารที่น่าสนใจมากถ้าได้มีโอกาสไมปเยือน
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : thaitoasean.blogspot.com

6. ประเทศสิงคโปร์

ลักซา (Laksa) อาหารที่ได้รับความนิยมที่สุดในสิงคโปร์ ซึ่งลักซาจะมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำมี 2 รูปแบบคือ แบบไม่ใส่กะทิ และแบบใส่กะทิ ซึ่งแบบใส่กะทิจะนิยมมากกว่า เพราะรสชาติจะเข้มข้นแบบแกงกะทิบ้านเรา ดูไปดูมาก็อาจจะคล้ายๆกับข้าวซอยทางภาคเหนือ แต่ลักซาจะมีส่วนประกอบเป็น กุ้ง หอยแครง จึงเหมาะกับคนทีชอบทานอาหารทะเล
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : foodofasean.blogspot.com

7. ประเทศอินโดนีเซีย

กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารเพื่อสุขภาพยอดนิยมของอินโดนี้เซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยผักและธัญพืชนานาชนิด ทั้งถั่วชนิดต่างๆ มันฝรั่ง แครอท และยังมีเต้าหู้และไข่ต้มสุกอีกด้วย โดยกาโด กาโดจะรับประทานคู่กับซอสถั่วที่มีลักษณะคล้ายๆกับซอสหมูสะเต๊ะ ซึ่งในซอสจะมีส่วนประกอบของสมุนไพรอยู่ด้วยทำให้ไม่เลี่ยนกะทิเวลารับประทาน
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : chumchonsahapattana.net

8. ประเทศลาว

สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) สลัดสุดอร่อยของประเทศลาว ที่มีรสชาติลงตัวสามารถรับประทานได้ทั้งชาวตะวันตก และตะวันออก ซึ่งส่วนประกอบก็จะคล้ายกับสลัดถั่วไปคือ แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาดหอม แต่จะพิเศษตรงที่จะเพิ่มผักน้ำ ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีเฉพาะในประเทศลาวเท่านั้น ทานคู่กับไข่ต้มและหมูสับลวกสุก ราดด้วยสลัดน้ำใสพร้อมโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและถั่วลิสงคั่ว
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : mmm-yoso.typepad.com

9. ประเทศมาเลเซีย

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารขึ้นชื่อของประเทศมาเลเซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง คือ แตงกวาหั่น ถั่วอบ ไข่ต้มสุก และปลากะตักทอดกรอบ เมื่อก่อนอาหารชนิดนี้นิยมทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบันเป็นอาหารที่ทานกันในทุกมื้อและสามารถหาทานได้ง่าย รวมทั้งภาคต้ของประเทศไทยด้วย
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน
ที่มาของภาพ : articles.spokedark.tv

10. ประเทศเวียดนาม

เปาะเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese Spring Rolls) อาหารที่ขึ้นชื่อมากเพราะในประเทศไทยเองก็มีขายกันอย่างแพร่หลาย ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนามจะอยู่ที่แป้งที่ทำมาจากข้าวเจ้า แล้วนำมาห่อกับเนื้อสัตว์ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หมูยอ หรือจะนำมารวมกันก็ได้ บวกกับผักสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น ผักกาดหอม สะระแหน่ ทานคู่กับน้ำจิ้มหวานโดยในน้ำจิ้มสามารถเพิ่มแครอทซอย ไชเท้าซอย และถั่วคั่วได้ตามต้องการ
อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558


  • รับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้ำหนักที่ปรกติ
  • ให้ลดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว Saturated fat,Transfatty acid
  • ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืขเพิ่มมากขึ้น
  • ลดอาหารที่มีน้ำตาล
  • ลดอาหารเค็ม
สำหรับ National Health Service (NHS)ของประเทศอังกฤษได้นิยามอาหารสุขภาพไว้ว่า มีสองปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงได้แก่
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสมดุลกับพลังงานที่ใช้
  • รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย
NHSจึงได้กำหนดแนวทางอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  • ทุกท่านต้องรู้จักจานอาหารสุขภาพซึ่งมีอาหารทั้งหมด 5 หมู่
  • ในจานอาหารสุขภาพจะบอกเราว่าควรจะรับประทานอาหารให้มีสัดส่วนอย่างไร
สำหรับสมาคมโรคหัวใจประเทศอเมริกาได้กำหนดอาหารสุขภาพไว้ดังนี้
  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่มโดยตั้งเป้าให้รับผักและผลไม้วันละ 4-5ส่วนทุกวัน
  2. ให้รับประทานธัญพืชเพิ่มEat more whole-grain foods.เนื่องจากผักและผลไม้มีไขมันต่ำ ใยอาหารสูงได้แก่  Whole-grain foods include whole-wheat bread, rye bread, brown rice and whole-grain cereal.
  3. ให้ใช้น้ำมัน olive, canola, corn or safflower oil สำหรับปรุงอาหารและจำกัดจำนวนที่ใช้ 
  4. รับประทานไก่ ปลา ถั่วมากกว่าเนื้อแดง เนื่องจากไก่ที่ไม่มีหนัง ปลา ถั่วจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าเนื้อแดง.
  5. อ่านฉลากก่อนซื้อหรือรับประทานทุกครั้งเพื่อเลือกอาหารที่มีคุณภาพ